BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ตัวอย่างที่ไม่ท้อ ของแปลงใหญ่ปาล์มนํ้ามันสุราษฎร์ธานี.


ปี 2560 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรรายงานว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำ มัน 5.54 ล้านไร่ กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย มากที่สุดในภาคใต้ 4.791 ล้านไร่ รองลงมาคือภาคกลาง 5 แสนไร่ ให้ผลแล้ว 4.88 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 14.24 ล้านตัน และ จ.สุราษฎร์ ธานี เป็นแหล่งปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดของประเทศ มีพื้นที่ให้ผลผลิตถึง 1,088,481 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,116 กิโลกรัมต่อไร่.

นายสุมาตร อินทรมณี นายกสมาคมชาวสวนปาล์ม จ.สุราษฎร์ธานี และ ผู้จัดการเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ต.คลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันคลองน้อยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 59 ปัจจุบันมีสมาชิก 68 ราย มีพื้นที่เพาะปลูก 771 ไร่ บริหารจัดการกลุ่มโดยใช้ระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System : ICS) มาใช้ ในการควบคุมคุณภาพผลผลิต โดยเน้นให้จัดทำข้อตกลงภายในกลุ่ม แบ่งการบริหารงานเป็นฝ่ายต่าง ๆ เช่น การควบคุมคุณภาพสินค้าเกษตร การผสมปุ๋ยใช้เอง การดำเนินการทางวิชาการ การควบคุมคุณภาพผลผลิต และมีการเชื่อมโยงการตลาดกับลานเททะลายปาล์มในพื้นที่ โดยทำข้อตกลงซื้อขายปาล์มน้ำมันคุณภาพโดยยึดหลักมาตรฐานเดียวกัน สำหรับ วิธีการดำเนินการของแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ต.คลองน้อย นั้น   ได้ดำเนินการตามกระบวนการแปลงใหญ่ โดยส่งเสริมให้ความรู้กับสมาชิกกลุ่มในการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน ผสมปุ๋ยใช้เอง และใช้ปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์ม นอกจากนั้นยังเน้นให้สมาชิกกลุ่มใส่ปุ๋ยตามผลการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรทะลายปาล์มน้ำมัน

นายสุมาตร กล่าวด้วยว่า เดิมทีพื้นที่ ต.คลองน้อย มีเกษตรกรปลูกปาล์มน้ำมัน 373 ราย รวมพื้นที่ปลูก 4,079 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ประสบปัญหา ขาดความรู้ความชำนาญในการทำสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง จนเมื่อรวมกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ สามารถลดต้นทุนการผลิต มีการป้องกันกำจัดโรค รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มที่มีคุณภาพตรงตามมาตรฐานที่กำหนด และขณะนี้กำลังเข้าสู่การเพิ่มปริมาณผลผลิตต่อไร่ คาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในเขต ต.คลองน้อย ทั้งหมดจะเข้ารวมตัวกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่

 “เมื่อก่อนเกษตรกรเราจะลองผิดลองถูก ใครบอกว่าอะไรดี ก็จะนำมาใช้ โดยไม่ได้มีการศึกษา อย่างกรณีก่อนหน้านี้กระแสของการใช้อินทรีย์ชีวภาพ มาแรงมาก ทำให้เกษตรกรหันไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์กันเป็นจำนวนมากและเชื่ออินทรีย์ชีวภาพสามารถใช้แทนสารเคมีได้ทั้งหมด ฝัง ใจว่าปุ๋ยเคมีคือสารพิษ จนทำให้ผลผลิตลดลง เมื่อเรามารวมตัวกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ มีศูนย์เรียนรู้ ให้สมาชิกเข้ามาศึกษาและเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยมีนักวิชาการคอยเป็นพี่เลี้ยง  จนสามารถเปลี่ยนแนวคิดว่า สารเคมี และ อินทรีย์ สามารถใช้ร่วมกันได้เพื่อผลที่ดีกว่าของผลผลิต การรวมกลุ่มกันเป็นเกษตรแปลงใหญ่ของ ต.คลองน้อย นอกจากจะมุ่งเน้นให้ความรู้ทางด้านวิชาการที่ถูกต้องแล้ว เรายังรวมกลุ่มกันเพื่อลดราคาต้นทุนการผลิต เช่น การซื้อปุ๋ย และสารเคมี จนสามารถทำให้ลดต้นทุนการผลิตลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงทำให้ผลผลิตมีคุณภาพตรงตามที่ตลาดต้องการ เรามั่นใจว่าขณะนี้เกษตรแปลงใหญ่ สามารถผลิตผลปาล์มน้ำมันได้ตรงตามคุณภาพที่รัฐกำหนด” นายสุมาตร กล่าว

 จากความสำเร็จ ของเกษตรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ต.คลองน้อย ทำให้ปัจจุบันกลาย เป็นศูนย์เรียนรู้อย่างครบวงจร โดยเฉพาะแปลงปาล์มน้ำมันของนายสุ มาตร ถูกยกให้เป็นแปลงตัวอย่างที่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายย่อยจากทั่วทั้งประเทศ มักจะเดินทางมาศึกษาเพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกปาล์มน้ำมัน ประกอบกับสถานการณ์ที่ราคาผลปาล์มดิบตกต่ำ นายสุมาตร ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการทำเกษตรผสมผสาน โดยการปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์เพิ่มเติม อาทิ ปลูกเตยหอมแซมตามร่องปาล์ม ส่วนในคูน้ำร่องสวน ก็เลี้ยงปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ เช่น หอยขม นอกจากนั้นยังเลี้ยงผึ้งเพื่อเก็บน้ำหวาน สร้างรายได้เสริมเดือนละ 8,000-10,000 บาท หากรวมเงินจากการขายผลปาล์มที่ใช้เทคนิคการปลูกตามแบบแปลงใหญ่พื้นที่ 10 ไร่ จะได้เดือนละ 4 ตัน ขายตันละ 3,000 บาท (ปลูกแบบทั่วไป 10 ไร่ได้ผลผลิตประมาณ 2.5-3 ตัน) ทำให้เกษตรกรมีเงินเข้ามาจุนเจือครอบครับอย่างสบาย ๆ ไม่ต้องรอเงินจากการขายปาล์มเพียงอย่างเดียว



ที่มา : อรุณี วิทิพย์รอด รายงาน (https://www.dailynews.co.th/agriculture/679167)

« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น