BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

เปิดโมเดลจีน40ปี! เส้นทางมังกรผงาด-เป็นชาตินวัตกรรมได้อย่างไร


13 พ.ย.61 วานนี้ (12 พ.ย.) ที่โรงแรมเดอะไทด์ บางแสน จ.ชลบุรี ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "โมเดลจีน 40 ปี เส้นทางมังกรผงาด และเป็นชาตินวัตกรรมได้อย่างไร"

โดยกล่าวในช่วงหนึ่งของการบรรยายว่า ประวัติศาสตร์จีนในช่วงปลายราชวงศ์ชิงซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน จีนแพ้สงครามฝิ่น ซึ่งเหตุการณ์ตอนนั้นจีนถูกขนานนามว่าเป็นคนป่วยแห่งเอเซียซึ่งน่าอัปยศอดสู โดยเฉพาะเรื่องที่เซี่ยงไฮ้เป็นพื้นที่ในประเทศจีนกลับต้องถูกยึดกลายเป็นเขตพื้นที่เช่าของฝรั่ง และยังถูกติดป้ายว่าห้ามสุนัขและคนจีนเข้า นอกจากนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังทำให้จีนต้องสูญเสียฮ่องกงให้กับอังกฤษและสูญเสียมาเก๊าให้กับโปรตุเกส

แต่ต่อมาท่านเติ้งเสี่ยวผิง ได้เจรจาเอาเกาะฮ่องกงและมาเก๊ากลับคืนสู่จีน ปรากฏว่าคนจีนในฮ่องกงและมาเก๊าไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น จึงเป็นที่มาแนวคิดท่านเติ้งเสี่ยวผิงเกิดนโยบาย 1 ประเทศ 2 ระบบ เพื่อให้เกาะฮ่องกงและมาเก๊ากลับคืนสู่จีน  โดยยอมให้ฮ่องกงและมาเก๊าดำเนินการบริหารภายในประเทศเป็นปกติเหมือนในอดีตได้ต่อไปอีก 50 ปี แต่ในด้านของกิจการกองทัพ กำลังทหาร และการต่างประเทศนั้นรัฐบาลจีนจะเป็นผู้ดำเนินการแทนเอง

นอกจากนี้ เหตุการณ์นักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่ง 1 มิถุนายน 1989 ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน จนเกิดการลุกลามประท้วงกันทั่วประเทศนั้น เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนอย่างมาก หากรับฟังข้อมูลจากสื่อตะวันตกก็จะเข้าใจว่านักศึกษาต้องการประชาธิปไตยแต่สาเหตุแท้จริงมาจากปัญหาประชาชนไม่พอใจเจ้าขุนมูลนายที่เป็นอภิสิทธิ์ชน ข้าราชการจีนมีพฤติกรรมคอรัปชั่น ประชาชนเดือดร้อนจากภาวะข้าวยากหมากแพง จึงเกิดการรวมตัวกันประท้วง ครั้งนั้นทางรัฐบาลจีนได้นำรถถังออกมา จึงเป็นที่มาของการที่ทั่วโลกแซงค์ชั่นจีน และนั่นเป็นครั้งเดียวที่เศรษฐกิจประเทศจีนต้องสะดุดครั้งแรกนับตั้งแต่ได้เปิดประเทศมานาน 20 ปี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผู้นำจีนได้เรียนรู้ และไม่เคยผิดพลาดอีกเลย

สำหรับพื้นที่ในประเทศจีน มีเขตปกครองตนเองทั้งหมด 5 แห่ง ได้แก่ 

1) มณฑลซินเจียง ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวอุยกูร์เป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 และมีพื้นที่ มาก 1 ใน 6 ของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่พรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 8 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่สำคัญมากของจีนจึงเป็นที่มาของความคิด นโยบายเส้นทางสายไหมของท่านสีจิ้นผิง

2) มณฑลทิเบต มีชาวทิเบตอยู่เยอะจำนวนมาก 

3) มณฑลมองโกเลียใน มีชาวมองโกลอาศัยอยู่ 

4) มณฑลหนิงเซี่ย คนส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมหุ่ย 

5) มณฑลกว่างซีจ้วง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวจ้วง

และมหานครอีก 4 แห่ง 1) เซี่ยงไฮ้ 2) ปักกิ่ง เป็นเมืองหลวงของจีนที่ไม่มีทางออกทะเล 3) เทียนจิน เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสากรรมไท้ต๋า 4) ฉ่งชิ๋ง แยกออกมาจากมณฑลเสฉวนนี้มีประชากรกว่า 100 ล้านคน ซึ่งเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศจีน โดยแยกประชาชน จำนวน 30 ล้านคน ของเสฉวน เนื่องจากมีความเจริญสูงสุดออกมาอยู่ที่มหา

นครฉ่งชิ๋ง เนื่องจากมีความเจริญสูงสุด ซึ่งเมื่อเทียบกับจีนฝั่งตะวันตกแล้วมีความยากจนมากและเกิดช่องว่างระหว่างรายได้แตกต่างอย่างมากกับคนมณฑลเสฉวน มีความเหลื่อมล้ำรายได้ของประชาชนสูงมาก ดังนั้น รัฐบาลจีนความต้องการให้มีการพัฒนาจีนตะวันตก โดยยกระดับฉ่งชิ๋งขึ้นมาเป็นมหานคร และตั้งเป้าให้เป็นเซี่ยงไฮ้ตะวันตก ซึ่งเป็นมหานครที่สามารถเชื่อมโยงกับเซี่ยงไฮ้ได้ด้วย โดยทำเขื่อน "สามผา" ผ่ากลางแม่น้ำแยงซีเกียง ซึ่งเป็นเขื่อนที่ใหญ่มากที่สุดในใช้ระยะเวลาการก่อสร้างเขื่อนนี้นาน13ปี เพื่อให้กลายเป็นท่าเรือขนส่งสินค้าส่งออกระหว่างประเทศจากเซี่ยงไฮ้ สามารถใช้เป็นเส้นทางเดินเรือสมุทรขนาดน้ำหนักหมื่นตันระยะทางกว่า2,600กม.จากเซี่ยงไฮ้ไปยังฉงชิ๋งได้

ช่วงระยะเวลา40ปี ของจีนจะเห็นได้ว่าการเปลี่นนแปลงพัฒนาเศรษฐกิจจีนใช้เวลา 12 ปีทำให้ GDP เพิ่มขึ้นเท่าตัวได้ ขณะที่ัอังกฤษใช้เวลา 150 ปี ประเทศเยอรมันใช้เวลา 65 ปี สหรัฐ 53 ปี ญี่ปุ่น 33 ปี ซึ่งปี 2009 GDP ของจีน ขณะที่ GDP คนไทย 1,500 และต่อมาอีก 10 ปี GDP จีนจาก 317 ขึ้นเป็น 4,500 ดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจว่าปี 2010 GDP ของจีนแซงหน้าประเทศญี่ปุ่นและอีก 5 ปีถัดมา GDP ของจีนก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวจาก 4,500 ดอลาร์สหรัฐ เป็น 5เป็น 8,000 ดอลาร์สหรัฐ ขณะที่ GDP รายได้ต่อรายหัวของประชากรจีนปี 2015 เติบโตอย่างก้าวกระโดดและแนวโนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทย GDP ติดกับดักรายได้ปานกลางMiddle income Track

ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้ประกาศว่าจะทำให้เศรษฐกิจของจีนเติบโตเป็นเท่าตัวภายในปี 2020 หมายถึง 15,000 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี ที่ประเทศไทย GDP ยังอยู่ที่ ประมาณ 6,000 - 7,000 บาท ต่อคนต่อปี

ประเทศจีนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรก เมื่อปี 1993 ยุครัฐบาลเหมาเจ๋อตุง ซึ่งสภาพเศรษฐกิจไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงเลย จนกระทั่งปี 1980 พุ่งสูงขึ้นทะยานแต่สะดุด ครั้งเดียวเท่านั้น ในรอบ 40 ปี จากเหตุการณ์ประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อปี 1989 ต่อจากนั้นเส้นกราฟเศรษฐกิจก็พุ่งสูงขึ้นทะยานโดยไม่หยุด

ล่าสุดเมื่อเร็วๆ นี้ สี จิ้นผิง ได้ประกาศว่าจะทำให้เศรษฐกิจจีน GDP สูงเป็น 2 เท่าโดยตั้งเป้าไว้ว่า GDP จะต้องสูงเพิ่มขึ้น 2 เท่า โดยภายในปี 2020 ประชาชนจะมีเงินในจีดีพีจะต้องสูงเพิ่มขึ้นสองเท่าและประชาชนจะต้องมีเงินรายได้เฉลี่ย 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นไปต่อหัวต่อปี

ทั้งนี้ จีนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกในยุคของ เหมา เจ๋อตุง ภายใต้นายกรัฐมนตรี โจว เอินไหล โดยระหว่างนี้เศรษฐกิจจีนไม่โตเป็นระยะเวลา 30 ปี และยังเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เศรษฐกิจจีนอยู่ในสภาพสะดุดอย่างแรงเนื่องจากเหตุการณ์ปี 1989 ที่นักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ปรากฏว่าภายหลังจากที่ปี 1978 ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง ได้ประกาศจีนต้องเปิดประเทศและปฏิรูปประเทศโดยนำกลไกตลาด (Market economy) มาใช้แบบค่อยเป็น ค่อยไป ทดลองใช้ในเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมา 4 แห่งในมณฑลกว่างตง เซิ่นเจ่น จูไห่ ซัวเถา และเซี่ยเหมิน ซึ่งเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติ จึงเป็นที่มาของประเทศจีน เติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 40 ปี นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และตั้งแต่ปี 1980 เศรษฐกิจจีนเติบโตไต่ขึ้นอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบันและมีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่อไปแบบพุ่งทะยานอย่างไม่หยุดยั้งภายใต้การบริหารประเทศของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ที่ให้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจประเทศจีนเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนัก

นอกจากนี้ ที่สำคัญยุค สี จิ้นผิง ได้พยายามปลุกฟื้นคืนชีพเส้นทางสายไหมขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อที่จะเชื่อมโยงกับประเทศต่างๆ ด้วยระบบราง จนมีคำเรียกว่า "Iron Silk Road" หรือม้าเหล็กรถไฟจีนบนเส้นทางสายไหมที่สามารถเชื่อมโยงข้ามพรมแดนมณฑลเสฉวนยาวไปถึงประเทศโปแลนด์ในทวีปยุโรป โดยวิ่งจากสถานีต้นทางในนครเฉิงตู วิ่งผ่าน 5 ประเทศ จากนครเฉิงตู ไปจนถึงพรมแดนของซินเจียง เข้าสู่คาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส และโปแลนด์ ระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร โดยอยู่ในจีนระยะทาง 3,511 กิโลเมตร ทั้งนี้ การขนส่งสินค้าทางรถไฟราคาประหยัดกว่าทางอากาศถึง 5 เท่า และรวดเร็วกว่าการขนส่งทางเรือใช้เวลานานถึง 45 วัน


ที่มา : 

« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น