BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561

"แครอท" กับประโยชน์ต่อสุขภาพ


แครอท เป็นพืชในตระกูลผักชีที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีสีสันหลากหลายทั้งส้ม แดง เหลือง ขาว และม่วง สามารถรับประทานได้ทั้งส่วนหัวที่อยู่ใต้ดินและใบ แต่ส่วนหัวจะเป็นที่นิยมนำมาใช้รับประทานเป็นอาหารได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบดิบ คั้นน้ำ ผ่านการปรุงสุก หรือใช้ปรุงเป็นขนม รวมถึงอาจใช้เป็นยาก็ได้เช่นกัน

แครอท เป็นพืชที่ขึ้นชื่อว่าอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะเบต้าแคโรทีน พบได้มากในพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ ปกติแล้วร่างกายของมนุษย์สามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนให้ไปเป็นวิตามินเอได้ และอาจทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) การรับประทานแครอทเชื่อว่าอาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคไฟโบรมัยอัลเจีย รวมถึงการขาดวิตามินเอ วิตามินซี และสังกะสี 

นอกจากนี้แครอทยังประกอบไปด้วยกากใยอาหารที่เชื่อว่ามีส่วนช่วยปรับปรุงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายอีกด้วย แต่ข้อพิสูจน์หรือหลักฐานทางการแพทย์มีมากน้อยเพียงใดที่จะช่วยยืนยันสรรพคุณ ประโยชน์ และความปลอดภัยของการรับประทานแครอทที่มีบทบาทหรือส่วนช่วยในการรักษาโรคเหล่านี้



การรักษาด้วยแครอทที่อาจได้ผล
โรคขาดวิตามินเอ โดยปกติแล้วเมื่อรับประทานแครอทเข้าไปร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนให้เป็นวิตามินเอ ซึ่งมีงานวิจัยบางงานเกี่ยวกับการรับประทานแยมแครอท 1 ช้อนทุกวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของเด็กที่เป็นโรคขาดวิตามินเอ และยังมีงานวิจัยอื่น ๆ เกี่ยวกับการรับประทานแครอทขูดในปริมาณ 100 กรัมทุกวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วันโดยทำการศึกษาทดลองกับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่าระดับวิตามินเอเพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่กำลังตั้งครรภ์บางคนที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเอ
การรักษาด้วยแครอทที่เป็นไปได้ แต่ยังมีหลักฐานสนับสนุนไม่เพียงพอ
โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มีการศึกษาทดลองเกี่ยวกับพลาสมาและอาหารที่มีส่วนประกอบของแคโรทีนอยด์และความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าระดับพลาสม่าแคโรทีนอยด์สูงอาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้น้อย ซึ่งจากการศึกษานี้ได้แนะนำว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนอาจทำหน้าที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายวัยหนุ่มได้ แต่เนื่องจากหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงคุณสมบัติดังกล่าวของแครอทได้ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและลดการเกิดออกซิเดชันของไขมัน ไขมันและโรคอ้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ กลุ่มอาการเมตาบอลิก และโรคเบาหวาน ซึ่งมีการศึกษาชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของน้ำแครอทโดยให้กลุ่มตัวอย่างเพศชายจำนวน 8 คนและเพศหญิงจำนวน 9 คนบริโภคน้ำแครอทคั้นสดในปริมาณ 16 ออนซ์ทุกวันเป็นเวลา 3 เดือนและเก็บตัวอย่างเลือดทั้งก่อนและหลังการทดลอง พบว่าการบริโภคน้ำแครอทเพิ่มความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของพลาสม่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีจำนวนน้อยและหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงคุณสมบัติดังกล่าวของแครอทได้ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ท้องเสีย นอกจากแครอทจะอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนแล้ว ยังอุดมไปด้วยกากใยอาหาร ซึ่งอาจมีส่วนช่วยปรับปรุงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก รวมถึงอาการท้องเสีย ซึ่งจากงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับการให้ทารกและเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสียอย่างเฉียบพลัน อายุระหว่าง 3-48 เดือนที่มีภาวะขาดน้ำไม่มากถึงระดับปานกลางจากอาการท้องเสีย รับประทานสารละลายเกลือแร่ที่มีส่วนผสมของแครอทและข้าว พบว่ากลุ่มตัวอย่างถ่ายอุจจาระและมีระยะเวลาที่เกิดอาการท้องเสียลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่เนื่องจากหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงคุณสมบัติดังกล่าวของแครอทได้ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

โรคไฟโบรมัยอัลเจีย ผู้ป่วยจะมีอาการตึง เมื่อย หรือปวดกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง นอนไม่หลับ ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ลำไส้แปรปรวน ปวดไมเกรน เครียด วิตกกังวล มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ สมาธิลดลง เป็นต้น ซึ่งมีงานวิจัยเกี่ยวกับการรับประทานอาหารมังสวิรัติร่วมกับดื่มน้ำแครอท 2-4 แก้ว เป็นเวลา 7 เดือน พบว่าผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียบางคนมีอาการที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงคุณสมบัติดังกล่าวของแครอทได้ จึงยังจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
โรคและอาการอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคขาดวิตามินซี โรคขาดสังกะสี ท้องผูก หรือบำรุงสายตา ซึ่งยังจำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาหลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพและความปลอดภัยของแครอทในการรักษาโรค

คุณค่าทางโภชนาการของแครอทดิบ ต่อ 100 กรัม
  • น้ำ 88.29 กรัม
  • พลังงาน 41 กิโลแคลอรี่
  • โปรตีน 0.93 กรัม
  • ไขมัน 0.24 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 9.58 กรัม
  • เส้นใย 2.8 กรัม
  • น้ำตาล 4.74 กรัม
  • แคลเซียม 33 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.30 มิลลิกรัม
  • แมงกานีส 13 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 69 มิลลิกรัม
  • สังกะสี 0.24 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 1 0.066 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.058 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.983 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 6 0.138 มิลลิกรัม
  • โฟเลต 19 ไมโครกรัม
  • วิตามินเอ 16706 หน่วยสากล
  • วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 13.2 ไมโครกรัม


ความปลอดภัยในการรับประทานแครอท
แครอท สามารถใช้รับประทาน คั้นน้ำ หรือนำไปประกอบอาหารได้โดยค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่หากรับประทานในปริมาณมากเกินไปอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวเหลือง ฟันเสื่อม หรือฟันผุได้ และยังไม่เป็นที่แน่ชัดหากนำไปใช้เป็นยาจะมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด รวมถึงมีข้อควรระวังในการรับประทานแครอทโดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มดังต่อไปนี
🍁ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรือผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร การรับประทานแครอทเป็นอาหารค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ชัดเจนหากรับประทานแครอทเพื่อเป็นยา
🍁เด็ก อาจรับประทานแครอทได้อย่างปลอดภัยถ้ารับประทานในปริมาณที่เหมาะสม แต่อาจไม่ปลอดภัยหากให้เด็กเล็กหรือทารกรับประทานหรือดื่มน้ำแครอทในปริมาณมาก เพราะอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวเหลือง หรือฟันผุได
🍁ผู้ที่แพ้แครอท อาจทำให้แพ้ได้ในผู้ที่มีอาการแพ้แครอท เซเลอรี หรือพืชในตระกูลที่เกี่ยวข้อง
🍁ผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง หรืออาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาที่ใช้อยู่ในขณะนั้น หากผู้ป่วยเบาหวานรับประทานแครอทในปริมาณมาก ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด

ที่มา : 

« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น