BREAKING NEWS
latest

728x90

ad

468x60

ad

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561

9 กลเม็ดเด็ด เลือกกินง่าย ๆ ให้ห่างไกลคำว่า “อ้วน”



เดี๋ยวนี้อาหารมีมากมายให้เลือกสรร บางชนิดก็มีประโยชน์ แต่บางชนิดก็ให้ผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเราก็พอรู้อยู่แล้วล่ะว่าอะไรควรทาน อะไรไม่ควรทาน แต่เพราะการดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบ ทำให้เราไม่สามารถเลือกทานอาหารที่ให้คุณประโยชน์ตามที่ร่างกายต้องการได้มากนัก แถมยังได้รับพลังงานเกินความจำเป็นไปเสียอีก “สสส.” ก็เลยขอแนะนำวิธีการเลือกกินอาหารที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน แถมยังได้ประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนด้วย ลองทำตามดูได้เลย เพราะไม่ยากอย่างที่กลัว





1. กินพออิ่ม
ควรกินให้พออิ่มในแต่ละมื้อ โดยตักอาหารในปริมาณที่พอดี เช่น ตักข้าวสวย 1-2 ทัพพี ผักอย่างน้อย 2 ทัพพี เนื้อสัตว์เล็กน้อย ตามด้วยผลไม้ 1-2 ส่วน น้ำสะอาด 1-2 แก้ว เพียงแค่นี้ก็เพียงพอต่อการบริโภคอาหารในแต่ละมื้อ ซึ่งในการตักอาหาร ไม่ควรตักมากจนล้นจานกินไม่หมด


2. เลือกอาหารดีมีคุณค่า
การกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์อาจใช้เต้าหู้ หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ในการประกอบอาหาร ส่วนปลาควรเลือกกินปลาน้ำจืดสลับกับปลาทะเล การกินไข่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนคุณภาพดี และควรเลือกอาหารที่มีในท้องถิ่น หรือผักพื้นบ้าน เช่น ตำลึง กระถิน ชะอม เป็นต้น ซึ่งจะมีราคาถูก หาง่าย ปลอดภัยจากการปนเปื้อน


3. กินผลไม้แทนขนมหวาน
การกินผลไม้ตามฤดูกาล นอกจากจะหาซื้อได้ง่ายและมีราคาถูกแล้ว ยังสามารถทดแทนความหวานจากขนมที่ให้พลังงานสูงได้อีกด้วย ซึ่งต้องกินในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อไม่ให้ได้รับพลังงานมากจนเกินไป เช่น มะละกอสุก ฝรั่ง ส้มโอ ชมพู่ เป็นต้น


4. ลดการกินจุบจิบ
เพราะของกินจุบจิบส่วนใหญ่นอกจากจะทำให้ร่างกายได้พลังงานมากเกินความจำเป็นยังทำให้อ้วนอีกด้วย และควรกินให้น้อยลง หรือเลือกขนมที่มีธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้มาเป็นส่วนประกอบ โดยให้เลือกชนิดที่มีน้ำมันน้อย หรือกะทิน้อยและไม่หวานจัด เช่น ถั่วแปบ ขนมตาล ขนมกล้วย เป็นต้น


5. ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด
ควรลด หรืองด เครื่องดื่มที่มีรสหวานชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน ชา กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด


6. ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ
เช่น การเพิ่มลูกชิ้นในก๋วยเตี๋ยว หรือเพิ่มข้าว เพิ่มกับข้าว เพราะจะทำให้ได้รับพลังงานมากจนเกินไปและทำให้อ้วน



7. งดการกินอาหารมื้อดึก
การกินอาหารมื้อดึกแล้วเข้านอน ไม่มีการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายใด ๆ ร่างกายจะเผาผลาญอาหารที่กินเข้าไปได้น้อยมาก และจะสะสมเป็นไขมันแทน ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้


8. เคี้ยวอาหารช้า ๆ อย่ารีบร้อน
ซึ่งการเคี้ยวอาหารช้า ๆ จะทำให้อิ่มเร็วกว่า เพราะปกติร่างกายจะเริ่มรู้สึกอิ่มเมื่อกินอาหารเข้าไปประมาณ 20 นาที นอกจากจะทำให้กินอาหารได้น้อยลงแล้ว ยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น


9. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ทารกแรกเกิดควรให้กินนมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ในการสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาของสมอง ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแม่กับลูก รวมทั้งยังช่วยลดภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กได้ ซึ่งปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำให้คุณแม่หลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน และให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควบคู่กับอาหารตามวัยต่อเนื่องไปจนถึง 2 ปี หรือมากกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม นอกจากการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ให้สารอาหารครบถ้วนเหมาะสมต่อร่างกายในแต่ละวันแล้ว ควรพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี


ขอบคุณที่มาจาก : http://health.kapook.com/
« PREV
NEXT »

ไม่มีความคิดเห็น